เมนู
จดหมายข่าว
กล่องอิสระ
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    
สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2012
อัพเดท12/04/2013
ผู้เข้าชม1308277
แสดงหน้า2722895
คำค้น




ตำนานพระฤาษี 108 ตน (เข้าชม 23832 ครั้ง)


ภาพพุทธประวัติ
เสด็จไปศึกษาลัทธิฤาษีชีป่ากับอาฬารดาบส เห็นว่ามิใช่ทางตรัสรู้


ฤาษี คือ นักบวช นักพรต โดยอยู่ในอาศรม บำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุวัตุประสงค์ในแต่ละอาจารย์ที่ท่านนับถือ โดยมากจะอยู่ป่าเขา บำเพ็ญกรรมฐานจนเกิดฤทธิ์เดชต่าง ๆ มากมาย
 


คาถาบูชาพระฤาษี

คาถาบูชาพ่อแก่ พระฤษี 108 พระองค์

นะโม ตัสสะ พะคะวะโต อะระหะโต
สัมมา สัมพุท ตัสสะ (3 จบ)
อุกาสะ อิมัง อัคคีพาหูบุพผัง  อะหังวันทา อาจาริยัง  สัพพะสัยยัง  วินาสสันติ สิทธิการิยะ
อะปะระปะชา อิมัสมิง ภะวันตุเม  ทุติยัมปิ อิมัง  อัคคีพาหูบุพผัง อะหังวันทา  อาจาริยัง สัพพะสัยยัง
วินาสสันติ สิทธิการิยะ  อะปะระปะชา อิมัสมิง ภะวันตุเม ตะติยัมปิ อิมัง  อัคคีพาหูบุพผัง อะหังวันทา
อาจาริยัง สัพพะสัยยัง  วินาสสันติ สิทธิการิยะ   อะปะระปะชา อิมัสมิง ภะวันตุเม

โอม ฤ ฤา
โอม นะโมนะมัสสะการิยะ มุนีวะระจะนัง สักการะวันทะทานัง มุนินโท มะนุสสาสะนัง โลกา สาธุ สาธุ อนุโมทะทันติ มะหาลาโภภะวันตุเม โอม นะโมนะมัสสะการะ อะหังเมสา ธุสะระณัง ปัจจะพุทธา นะมามิหัง นะโมยะมะสิตะวายะ อะหังระอะ สาธุ ติการัง มุนิเทวา มะหามุนีเทวา วันทะนานัง สัพพะกัมมัง ประสิทธิเม โอมนะโมนะมัสการะ อะหังเมธานัง สาธุ สะระณัง ปัจจะพุทธา นะมามิหัง นะโม ยะ มะสิตะวายะ อะหังระอะ ติการะรังตะรัง อิศะวะรัง อุมา นารายะนัง พรหมมะธาดา มะหาวิยัง เนาวะ สัพพะเทวานัง ธุสาสะนัมโลเก ตรียัม พะยัม ชัยยะมังคะละ สาธุสะ ประสิทธิเม

โอม อิมัสมิง สักการะ วันทะนัง มุนิพรหมมานัง ปูชิตตาวา มะหาลาโภ สุขขะ พะลัง ปูชายะ ภะวัตุเม โอม นะโม นะมัสการะ อะหังเมธานัง สาธุ สะระนัง ปัจจะพุทธา นะมามิหัง นะโมยะ มะสิตะวายะ อะหังระอะ สาธุติการะรันตะรัง มุนิเทวา
วันทะทานัง สัพพะกัมมัง ประสิทธิเม โอม อิมัง วันทานัง สันติโลเก อิมัสมิง มุนิมะนุสสานัง ปูชา อาราธะนานัง สัพพะกัมมัง ประสิทธิเม มะหาลาโภ มามะ มามัง ประสิทธิ สิทธิ ประสิทธิเม จงมาประสิทธิเม จงมาประสิทธิ

 

ตำนานพระฤาษี ตอนที่ 1

    ปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ หมายความว่า ศาสนาพุทธล่วงเลยมาแล้วถึง ๒๕๕๐ ปี นับว่าเป็นศาสนาที่เก่าแก่และมั่นคงมาก แม้ว่าเวลาที่ผ่านมาจะมีเหตุการณ์ต่างๆผันแปรทำให้ศาสนาพุทธสึกกร่อนลงไป
บ้างแต่ปัจุบันศาสนาพุทธก็ยังเป็นศาสนาหนึ่งที่มีผู้คนนับถือมากมายและกระจายไปทั่วทุกมุมโลก
ก่อนศาสนาพุทธยังมีศาสนาและลัทธิต่างๆอีกมากมายเช่น ศาสนาพราหมณ์ เป็นต้น

ปัจจุบันศาสนาพุทธกับศาสนาพราหมณ์ใกล้ชิดสนิทสนมจนแทบจะกลืนเป็นเนื้อเดียวกันเมื่อมี
พิธีทางศาสนาพุทธ ก็จะต้องมีพิธีทางศาสนาพราหมณ์ร่วมด้วยทุกครั้งเพราะคน ไทยเราเก่งในการ
ผนวก พระฤษีเป็นคำเรียกขานของคนที่บำเพ็ญเพียรด้วยความอุตสาหะ เป็นความเชื่อของคนว่าต้องการจะหลุดพ้นจากความทุกข์บ้าง ก็ต้องการที่จะสร้างฤทธิ์สร้างบารมี จึงเกิดมีลัทธิมีการตั้งตัวเป็น
อาจารย์สอนศิษย์ให้ประพฤติปฏิบัติตามหลักการ ที่วางไว้พระฤษี เป็นคำที่เรียกคนที่มีพลังจิตเด็ด
เดี่ยวมุ่งปฏิบัติจนประสบผลสำเร็จในอย่าง ใดอย่างหนึ่ง หรือหลายๆอย่าง เช่นสามารถเหาะเหินเดิน
อากาศได้ มีวาจาสิทธิ์ และอีก มากมายบางท่านก็เก่งเรื่องยาสมุนไพรเช่น ปู่ชีวกโกมารภ้ทรซึ่งเป็น
แพทย์ประจำพระองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็รวมเรียกท่านอยู่ในกลุ่มของฤษีเช่นกัน พระฤษี
จัดคัดแยกเอาไว้ ๔ ชั้นหรือ ๔ จำพวก คือ

ชั้นที่ ๑ เรียกว่า ราชรรษี แปลว่า เจ้าฤษีชั้นนี้จะมีความเป็นอยู่ตามพื้นธรรมชาติคือมีความปกติเป็นพื้นฐานเพียงแต่มีความริเริ่มและความพยายามที่จะบำเพ็ญเพียรในเบื้องต้นและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

ชั้นที่ ๒ เรียกว่า พรหมรรษี แปลว่า พรพรหมฤษี เมื่อปฏิบัติเพียงพอกับความต้องการ ในเบื้องต้นแล้ว
จึงได้ไปบังเกิดเป็น พระพรหม

ชั้นที่ ๓ เรียกว่า เทวรรษี แปลว่า เทพฤษี ผู้ที่ปฏิบัติอย่างมุงมั่นด้วยตบะ จึงมีบารมีมาก พร้อมทั้งมี
อิทธฤทธิ์และมีอำนาจมหาศาล

ชั้นที่ ๔ เรียกว่า มหรรษี แปลว่า มหาฤษีชั้นนี้นอกจากมีอิทธิฤทธิ์ที่เกิดจากบารมีแล้ว ยังมีภูมิปัญญา
มากมีอาคมแก่กล้าเป็นที่สุด

เมื่อนำเอามาเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นชัดเจนว่าทั้ง ๔ชั้นมีความสามรถไม่เหมือนกัน หรือไม่เท่ากัน
แล้วแต่การปฏิบัติของแต่ละตนผู้ใดมีความมุ่งมั่นหมั่นเพียรและตั้งใจปฏิบัติ ทำ ได้เท่าใดผลก็จะส่ง
บุญก็จะบันดาล ให้ไปถึงขั้นนั้นๆ พระฤษีที่ปรากฏในวรรณคดีมีอยู่หลายท่านโดยมากมักเป็นฤษีที่ละ
จากเรื่องทางโลกมุ่งสู่การบำเพ็ญบารมีเป็นที่นับถือแก่มนุษย์และเทพเทวดาทั่วไปยิ่งบำเพ็ญบารมี
มากเท่าไรก็มีอำนาจวิเศษตามบารมีที่สั่งสมมามากขึ้นเท่านั้น ฤษีตามรากศัพย์ดูเหมือนจะแปลกันว่า
 เป็นผู้มี ปัญญาอันได้มาจาก พระเป็นเจ้าตามพจนานุกรมฉบับมติชนปี ๒๕๔๗ ว่า ฤษี(รือ-สี) ผู้สละ
บ้านเรือนออกบำเพ็ญพรต ส่วนฤษีที่ปรากฎชื่อใน ทศฤาษี หรือที่เรียกกันว่าเป็น พระประชาบดี นั้นใน
มานวธรรม ศาสตร์กล่าวว่ามี ๑๐ ตน คือ
๑.มรีจิ
๒.อัตริ
๓.อังคีรส
๔.ปุลัสยตะ
๕.ปุลหะ
๖.กรตุ
๗.วสิษฐ
๘.ประเจตัส หรือ ทักษะ
๙.ภฤคุ
๑๐.นารท


 


 

ตำนานพระฤาษี ตอนที่ 2

    แต่บางตำราว่ามีแค่ 7 เรียกกันว่า สัปตฤาษี หรือมานัสบุตร (ลูกเกิดแต่มโนของพระพรหมา) ทั้ง
7 ตน มีชื่อดังนี้
๑.โคดม (โคตม)
๒.ภรัทวาช
๓.วิศวามิตร
๔.ชมัทอัคนี(บางตำราว่า ชมทัศนี)
๕.วสิษฐ
๖.กศป(กัศย์ป)
๗.อัตริ
ส่วนมหาภารตะระบุไว้ว่า
๑.มรีจิ
๒.อัตริ
๓.อังคีรส
๔.ปุละหะ
๕.กระตุ
๖.ปุลัสตยะ
๗.วสิษฐ วายุปุราณะเติม ภฤคุ อีก ๑ ตน แต่ยังเรียกรวมว่า สัปตฤาษี ส่วนวิษณุปุราณะเพิ่มอีก ๒ ตน
คือ ภฤคุ กับ ทักษะ เรียกแปลกไปอีกว่า พรหมฤาษีทั้งเก้า ตามชั้นและฐานะของพรฤษีนั้นก็ยังแยก
ระดับตามศรรพนามออกไป และชั้นที่ได้ยกระดับหรือแยกออกมาอีก ก็คือ
๑.พระสิทธา
๒.พระโยคี
๓.พระมุนี
๔.พระดาบส
๕.ชฎิล
๖.นักสิทธิ์
๗.นักพรต
๘.พราหมณ์
เมื่อรวมทั้งแปดนามเป็นหนึ่งเดียวกันแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือท่านเป็น'ผู้ทรงศีล'ผู้ที่มุ่งหวังตั้งใจ
บำเพ็ญเพียรตบะ เพื่อเสริมสร้างบารมี มุ่งหวังในผลสำเร็จ ถึงกับยอมสละทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนกัน
หมด ในบรรดากลุ่มพระฤษีที่มีชื่อแยกออกไป ก็ยังมีความหมายต่างๆกัน เช่น
๑.พระสิทธา แปลว่า พระฤาคี ประเภทมีคุณธรรมวิเศษ มีหลักฐานมั่นคง ที่สถิตสถานมีวิมานอยู่บน
เทือก เขาและถ้ำ ตามแต่ว่าจะเห็นสมควรในความสะดวกสบายอยู่ในระหว่างพระอาทิตย์ลงมาสู่พื้น
แห่งโลกมนุษย์โดย กำหนด

๒.พระโยคี แปลว่า เป็นผู้ที่มีความสำเร็จ หรือผู้ที่กำลังศึกษาสังโยค ในด้านหลักวิชาโยคกรรม มักจะ
เที่ยว ทรมานตนอยู่ตามเทือกเขาและป่าตามความเหมาะสมในความสันโดษ ที่จะมีและเท่าที่จะเห็นว่า
สมควร

๓.พระมุนี แปลว่า ในกลุ่มพราหมณ์ที่มีความพยายาม กระทำกิจพิธีบำเพ็ญด้วยความพากเพียร มุ
มานะ พยายามจนกระทั่งพบความสำเร็จ จึงกลายเป็นผู้ที่มีปัญญาและมีความรู้ความสามารถอยู่ในระดับสูง

๔.พระดาบส แปลว่า ผู้บำเพ็ญตนสร้างบารมี มุ่งมั่นในตบะธรรมที่คิดว่าจะเผาผลาญกองกิเลสให้หมด
สิ้นไป ใช้ความพยายามพากเพียร พยายามมุ่งแต่ในทางทรมานร่างกายและจิตใจ เพื่อมุ่งหวังในโล
กุตตรสุขที่เป็นผล แห่งบารมี

๕.ชฎิล แปลว่า นักพรตจำพวกหนึ่ง ที่ชอบเกล้ามุ่นมวยผมเป็นแบบชฎาเอาไว้ หนวดเครารกรุงรังราว
กับคน บ้า ทั้งผ้าที่นุ่งห่มก็รุ่มร่าม ไม่ชอบในการรักสวยรักงาม ทำตนเป็นพราหมณ์รอนแรมอยู่ตามป่า
ดงพงไพร

๖.นักสิทธิ์ แปลว่า เป็นผู้ทรงศีลที่กึ่งมนุษย์กึ่งเทพ หรือเทวดา พวกนี้มักจะรักสัจจะวาจา มีความเที่ยง
ธรรม เป็นที่ตั้งชอบช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนอยู่เสมอๆ มีที่อยู่อาศัยอยู่ในระหว่างกลางที่ว่าง
เปล่าและบริสุทธิ์ วัดระยะตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลงมาจนกระทั่งถึงโลกมนุษย์ พวกนี้มีอยู่กันเป็นจำนวน
มากมายหลายแสนองค์เที่ยว ตระเวนไปในที่ต่างๆ เพื่อที่จะสอดส่งหาทางลงมาช่วยเหลือมวลมนุษย์

๗.นักพรต แปลว่า เป็นผู้ที่ปฏิบัติดีเคร่งครัดในการปฏิบัติ ทรงศีลอันประเสริฐมิยอมให้ศีลบกพร่องแต่
ประการ ใด ตั้งใจบำเพ็ญพรต บำเพ็ญตบะ เพื่อที่จะเสริมสร้างบารมีให้มากๆ อยู่ประจำ ชอบสถิตย์อยู่
ตามป่าเขาลำเนา ไพร และตามถ้ำหน้าผา มักไม่ยอมให้ผู้ใดได้พบเห็น มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย
แต่มีอิทธิฤทธิ์มาก

๘.พราหมณ์ แปลว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับฤษีเหมือนกัน แต่เป็นด้านการปฏิบัติบูชาบำเพ็ญตบะสร้างบารมี
อย่าง มุ่งมั่นเป็นผู้สละแล้ว สละเรื่องของโลกภายนอกได้หมดแล้วมีความมุ่งมั่นว่าจะต้องออกไป
ปฏิบัติการช่วยเหลือ มนุษย์และสรรพสัตว์โดยทั่วไป พราหมณ์มักจะชุมนุมรวมกลุ่มกันเป็นหมู่คณะ
ตามเทวสถานต่างๆ ด้วยความพร้อม เพรียงและสามัคคีกันอย่างดี เมื่อมีผู้ใดเชิญให้ช่วยกระทำพิธี
ให้ไม่ว่าจะเป็นพิธีอะไรที่จะต้องเกี่ยวกับพระฤษีหรือ องค์เ้ทพต่างๆพราหมณ์ก็ออกไปทำพิธีให้ทันที
ไม่เรียกร้องค่าป่วยการหรือค่าตอบแทนใดๆทั้งสิ้น ไม่เห็นแก่ลาภ ไม่เห็นกับประโยชน์ส่วนตัว (นั่น
เป็พราหมณ์สมัยก่อน สมัยนี้ก็คงจะต้องมีค่าใช้จ่ายมากน้อยตามแต่จะเห็นสมควร) สำหรับพราหมณ์
พวกนี้ก็มักมีกันอยู่เป็นจำนวนมาก ชอบฝักใฝ่ในธรรม โปรดสัตว์ ช่วยเหลือมนุษย์ด้วยความเต็มใจ
เมื่อเสร็จสิ้นจากภารกิจแล้วก็จะเข้าจำศีลภาวนาต่อไปอย่างไม่มีคำว่าพอ


ตำนานพระฤาษี ตอนที่ 3
    ต่อจากนี้จะเป็นการลำดับรายชื่อย่อๆ ในส่วนหนึ่งของพระฤษีในแต่ละชั้น จะแบ่งแยกเป็นชั้นๆดัง
ต่อไปนี้
๑.พระฤษีชั้นพรหม พระฤษีในชั้นพรหมนั้นมีรายชื่อดังต่อไปนี้ พระฤษีพรหมเมศร์ พระฤษีพรหมมา
พระฤษีพรหม มุนี พระฤษีพรหมนารถ พระฤษีพรหมวาลมีกิ เป็นต้น

๒.พระฤษีชั้นเทพ พระฤษีชั้นเทพนั้นมีรายชื่อดังต่อไปนี้ พระฤษีบรมโกฏิ พระฤษีประลัยโกฏิ พระฤษี
นารอด พระ ฤษีนารายณ์ พระฤษีนาเรศร์ พระฤษีอิศวร พระฤษีพิฆเนศ พระฤษีเพชรฉลูกัณฑ์ พระฤษี
ปัญญาสด พระฤษีตาไฟ พระฤษีหน้าวัว พระฤษีหน้าเนื้อ พระฤษีปัญจสิขร (หรือพระประคนธรรพ)
บางทีเรียกว่า พระประโคนทัพ) เป็นต้น

๓.พระฤษีชั้นมนุษย์ พระฤษีชั้นมนุษย์ก็มีมากมายเช่นเดียวกัน เช่น พระฤษีโกเมน พระฤษีโกเมท พระ
ฤษีโกมุท พระฤษีสัตตบุตร พระฤษีสัตบัน พระฤษีสัตบงกช พระฤษีโคบุตร พระฤษีโคดม พระฤษีสม
มิตร พระฤษีลูกประคำ เป็นต้น

๔.พระฤษีชั้นอสูร พระฤษีชั้นอสูรก็มีตามรายชื่อดังนี้ ท่านท้าวคีรีเนศร์ ท่านท้าวเวสสุวัณ ท่านท้าวหัส
กัณฑ์ ท่าน ท้าวหิรัญฮู พระฤษีพิลาภ พระฤษีพิรอด ท้าวพลี หิรัญยักษ์ อนันตยักษ์ วาณุราช วาหุโลม เป็นต้น

รูปร่างลักษณะของพระฤษีพรหมเมศร์
  พระฤษีพรหมเมศร์มี ๔ พระพักตร์เหมือนกับพรพรหมโดยทั่วไป พระเศียรเป็นกรวยเช่นเดียวกับ
เศียรพระฤษี ทั้งหลาย มี ๘ กร พระพักตร์สีทอง ผิวกายสีทอง นุ่งห่มด้วยผ้าโขมพัตถ์ (ผ้าสี
ขาวอย่างดี ที่สะอาดบริสุทธิ์)   พระฤษีพรหมเมศร์นี้ ท่านมีอิทธิฤทธิ์และปาฏิหารย์มากมาย ทั้งใน
ด้านบุญฤทธิ์บารมี ก็ไม่มีผู้ใดจะเทียบเทียม ท่านได้ ชอบช่วยเหลือมวลมนุษย์และสรรพสัตว์โดยทั่วๆ
ไป ด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดีงามของท่าน


ตำนานพระฤาษี ตอนที่ 4
    ประวัติของพระฤษีพรหมบุตร

จะกล่าวถึงกุมารหนึ่ง นามว่า พรหมบุตร ซึ่งเกิดแต่พรหมนารีนางหนึ่ง หลังจากที่กุมารเจริญวัยขึ้นมา
ก็ไต่ถามมารดาถึงเรื่อง ของผู้เป็นบิดาและก็ได้ความตามเรื่องราวที่มารดาเล่าให้ฟังโดยละเอียดว่า
พรธฤษีพรหมเมศร์นั้นเป็นบิดาบังเกิดเกล้า แต่บัดนี้ มารดาไม่สามารรถที่จะขึ้นไปอยู่บนพรหมโลกได้
อีกแล้ว เพราะเป็นคำสั่งห้ามของเจ้าสวรรค์คือ พระิอิศวร นั่นเอง มิหนำซ้ำยัง ขับไล่ให้มาอยู่ใน
ภาคพื้นดินอีกด้วย พระพรหมบุตรในระหว่างนี้ก็กระทำตนเป็นพระฤษีบำเพ็ญตบะบารมีอยู่ในป่า
หิมพานต์ เมื่อ รู้เรื่องราวจากมารดาก็โกรธ และมีความน้อยใจเป็นอย่างมากจึงคิดมุ่งแต่บำเพ็ญตบะ
เพื่อสร้างบารมีให้แก่กล้าและสูงขึ้นๆ เรื่อยๆ ทั้งจะต้องมีทั้งอำนาจ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ ด้วยพระคาถา
อาคมที่แข็งแกร่งและแก่กล้าจะต้องเอาชนะพระฤษีทั้งหลายให้ทั่วทุก ชั้นได้สำเร็จ จึงพยายาม พาก
เพียร บำเพ็ญ อยู่อย่างนั้นเป็นเวลานานแสนนานในระยะเวลาถึงหนึ่งพันปี ก็บังเกิดบุญฤทธิ์ และ
บารมีที่มุ่งมั่น ทำให้มีฤทธิ์อำนาจ มีคาถาอาคมอันศักดิ์สิทธิ์มีภูมธรรมอยู่ในชั้นสูงไม่มีผู้ใดจะเทียบ
ได้พระฤษีพรหมบุตรจึงเป็น หนึ่งในความสำเร็จ เมื่อพระฤษีพรหมบุตร มีความเก่งกล้าเป็นที่หนึ่งใน
จักรวาลและแดนพิภพแล้ว ก็มีใจกำเริบด้วยฤทธิ์เดช ด้วย ความที่ยังมีใจเจ็บแค้นพระอิศวรเจ้าสวรรค์
จึงออกเที่ยวหาหมู่พระฤษีทั้งหลาย ที่บำเพ็ญตบะอยู่ในป่าทั้งหมด เมื่อ พบกับองค์ใดองค์หนึ่งก็ตาม
พระฤษีพรหมบุตรก็ด่าและท้าทายพระฤษีเหล่านั้นมาต่อสู้ จนพระฤษีทั้งหลายพา กันหวาดกลัวและ
เข็ดขยาด เพราะไม่สามารถต่อสู้ได้ ต่างไม่เป็นอันทำตบะเพราะความเกรงกลัว ต่างพากันหลบหนี
ซุกซ่อนมิยอมให้ได้พบเห็น เพราะหากพบกันครั้งใดภัยก็จะเกิดขึ้นครั้งนั้น ยิ่งทำให้พระฤษีพรหมบุตร
กำเีริบ คิดว่า ตนเก่งกล้าไม่มีผู้ใดออกมาต่อกรได้ ด้วยความคับแค้นแน่นอยู่ในอกจึงคิดว่า ถึงเวลา
แล้วที่จะต้องกระทำการแก้แค้นให้กับมารดา และหมายใจที่ จะให้มารดากลับขึ้นไปอยู่บนพรหมโลก
อีกครั้งหนึ่งให้จงได้เมื่อคิดได้ดังนั้นแล้วจึงแสดงอิทธิฤทธิ์เหาะขึ้นไปสู่ยังพรหมโลกเมื่อขึ้นมาแล้วก็
สืบเสาะหาพระฤษีพรหมเมศร์ผู้ที่เป็นบิดาหวังว่าเมื่อได้พบกันแล้วจะเจรจากันได้โดยง่าย แต่กลับตรง
กันข้ามพระฤษีพรหมเมศร์กลับปฏิเสธไม่ยอมรับถึงแม้พระฤษีพรหมบุตรจะพยายามขอร้องสักเพียง
ใดเพื่อให้มารดากลับขึ้นมาอยู่บนพรหมโลกให้ได้ มิเพียงไม่ยอม เท่านั้นยังประกาศขับไล่พระฤษี
พรหมบุตรรีกลับลงไปจากพรหมโลกอีกด้วย เมื่อเกิดความโกรธขึ้นมาก็ลืมตัวว่าพระฤษีพรหมเมศร์
นั้นคือบิดา ไม่ยอมรับแล้วยังขับไล่อีก จึงท้าทายให้ต่อสู้กัน ตัวต่อตัวด้วยวาจาที่แสนโอหังและหยิ่ง
ผยอง ไม่ยอมลดละให้กับผู้เป็นบิดาหวังจะต้องรู้แพ้รู้ชนะให้ได้ด้วยความอาฆาต มาดร้ายต่อผู้เป็น
บิดาเป็นอย่างมาก การต่อสู้ได้เกิดขึ้นแล้ว ทั้งสองฝ่ายต่างมีฤทธิ์เดชด้วยกัน แม้จะต่อสู้กันตัวต่อตัวก็
ทำให้สวรรค์ทั้งพรหมโลกและชั้น อื่นๆจนถึงพื้นภิภพสะเทือนเลื่อนลั่น ราวกับจะพังพินาศไป





หนังสืออ้างอิง...ตำนานพระฤษีของ อ.ว จีนประดิษฐ์
ขอขอบคุณข้อมูลจากคุณกุหลาบขาว



บทความ
บทความทั่วไป
รวม LINK โหลดสื่อธรรม
การลดกรรม 45อย่าง ผลของกรรม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า
พุทธประวัติ คือ ประวัติของพระพุทธเจ้า
ประวัติพระพุทธศาสนา
ตำนานพระฤาษีและการบูชาพระฤาษี
พระแม่คายตรีมนตรา เทพีแห่งมนต์ตรา
108 พระนาม พระลักษมี
บูชาองค์อย่างไร
ประวัติพญานาค
พญานาค
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พุทธทำนาย-2
พุทธทำนาย-1
พระมหาโพธิสัตว์กวนอิม 84 ปาง
ตำนาน ประวัติ พระแม่กวนอิมอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์
ตำนานฤาษี 108 ตน ตอน 8
ตำนานฤาษี 108ตน ตอน 7
ตำนานฤาษี 108 ตน ตอน 6
ตำนานฤาษี 108 ตน ตอน 5
ตำนานปู่ฤาษี 108 ตน ตอน 4
ตำนานพระฤาษี 108 ตน ตอน 3
ตำนานปู่ฤาษี 108 ตน ตอนที่ 2
ตำนานพระฤาษี 108 ตน
ปู่ฤาษีนารอด พ่อแก่ บรมครูปู่ฤาษี
ปู่หมอชีวกโกมารภัจจ์
เทวดาประจำตัว,เทวดามาสร้างบารมี,มีองค์
เหตุใดเทวดาตายแล้วจึงอยากเกิดเป็นมนุษย์
กุมารทอง กุมารี
ดูการ์ตูนประวัติพระพุทธศาสนา ออนไลน์
พระราม राम
หนุมาน ผู้เก่งกล้า ว่องไว องค์รักษ์พระราม
นางกวัก เทวีแห่งการค้ารุ่งเรือง
พระแม่โพสพ เทวีแห่งข้าวปลาอาหาร
พระแม่ธรณีหรือแม่พระธรณี भारत माता (Mother Earth)
พระแม่คงคา गङ्गा เทวีแห่งสายน้ำ
พระขันทกุมาร मुरुगन เทพแห่งสงคราม
พระกฤษณะ कृष्ण อวตารของพระนารายณ์
พระแม่อุมาเทวี 9 ปาง,พระแม่ปาราวตี पार्वती 9 ปางนวราตรี
พระนางสุรัสวดี (Saraswati, सरस्वती)
พระแม่กาลีหรือกากิลา काली อวตาลหนึ่งของพระแม่อุมา
พระพรหม (Brahmā ,Sanskrit: ब्रह्मा) คือ พระเจ้าผู้สร้าง
พระแม่ลักษมี (Lakshmi,Sanskrit: लक्ष्मी)
พระตรีศักติ,พระแม่สามภพ,พระศักติ,พระแม่ตรีเอกานุภาพ
พระวิษณุหรือพระนารายณ์
พระมหาตรีมูรติ The Trimurti (English: ‘three forms’; Sanskrit: त्रिमूर्तिः trimūrti)
พระแม่อุมาเทวี(พระแม่ทุรคา,พระแม่กาลี) Parvati (Devanagri: पार्वती, Kālī: काली)
พระพิฆเนศมหาเทพ Ganesha (Sanskrit: गणेश)
พระนามต่างๆของ พระศิวะมหาเทพ
ศิวลึงก์ लिङ्गं สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ
พระศาสดามหาศิวะเทพ (พระอิศวร) शिव Shiva
ศาสนาฮินดู