เมนู
จดหมายข่าว
กล่องอิสระ
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    
สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2012
อัพเดท12/04/2013
ผู้เข้าชม1310055
แสดงหน้า2725725
คำค้น




พระแม่ธรณีหรือแม่พระธรณี भारत माता (Mother Earth)

อ่าน 6274 | ตอบ 2

 พระแม่ธรณีหรือแม่พระธรณี भारत माता (Mother Earth)หรือ พระศรีวสุนธรา เป็นเทพีแห่งพื้นแผ่นดิน ปรากฏในตำนานทั้งศาสนาพราหมณ์, ฮินดู และพุทธศาสนา
 

   ในคติของศาสนาฮินดูให้ความเคารพนับถือว่าแผ่นดินเป็นสิ่งค้ำจุนสรรพสิ่งทั้งปวงในโลกเปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดหล่อเลี้ยงโลกและแผ่นดิน จึงได้รับยกย่องว่าเป็นเทพจากธรรมชาติองค์หนึ่งเป็นเพศหญิง เรียกนามว่า 'ธรณิธริตริ' แปลว่า 'ผู้ค้ำจุนพระธรณี'

แม้จะมิค่อยมีรูปเคารพอย่างแพร่หลายเช่นเทพองค์อื่นแต่ก็มีผู้ให้ความเคารพนับถือเป็นจำนวนมิใช่น้อย เพราะถือกันว่าพระธรณีสถิตย์อยู่ตามที่ต่าง ๆ ทุกหนทุกแห่ง จะทำการบูชาด้วย ข้าว ผลไม้ และนมด้วยการวางไว้บนก้อนหิน หรือประพรมลงบนพื้นดิน บางแห่งใช้เหล้าเป็นการสังเวยก็มี

นอกจากนี้ชาวฮินดูยังมีการขอขมาลาโทษเมื่อจะวางเท้าลงบนพื้นดินก่อนจะลุกขึ้นในตอนเช้า วัวหรือควายที่มีลูกก่อนที่จะให้ลูกกินนมครั้งแรก เจ้าของจะปล่อยน้ำนมของแม่วัวลงบนพื้นดินเสียก่อนทุกครั้งไป ถ้าเป็นพวกชาวนาก็จะขอให้พระธรณีช่วยคุ้มครองผืนนาและวัวควาย แม้ในพระเวทก็มีการขอร้องต่อพระธรณีให้ช่วยพิทักษ์คุ้มครองวิญญาณของคนตาย และต่อมาได้นับถือว่าเป็นเทพแห่งไร่นาด้วย ในแคว้นปัญจาบเชื่อกันว่าพระธรณีจะนอนหลับเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ของทุก ๆ เดือนชาวไร่ชาวนาจะหยุดไม่ทำงานในระยะนี้

 

   เทพแห่งแผ่นดินหรือพระธรณี ไม่ค่อยมีเรื่องราวประวัติความเป็นมาปรากฏมากมายดังเช่นเทพองค์อื่น หรือมีก็สับสน เช่น บางแห่งว่าพระธรณีมีโอรสกับพระนารายณ์องค์หนึ่งคือพระอังคาร บางแห่งว่าพระอังคารเป็นโอรสของพระศิวะกับพระธรณี หรือในคติพราหมณ์พบเพียงว่าเป็นชายาของพระธุรวะหรือดาวเหนือ

   ในพุทธศาสนา พระแม่ธรณีปรากฏกายเพื่อบีบน้ำจากมวยผมให้ท่วมพญามารที่รังควาญสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในคืนวันตรัสรู้ 
  

 

   

พระธฤติมาตามหาเทวี(พระธรณี)
พระธรณีเป็นเทพมารดาแห่งโลก เพราะเป็นผู้ที่มีคุณต่อสรรพชีวิตบนโลกนี้ที่ต้องอาศัยคุณของแม่พระธรณี ในศาสตร์ทางจิตเกือบทั่วทุกมุมโลกล้วนคำนึงถึงพลังจากปถพีนี้เสมอมา แม้ในพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยหลักการและเหตุผลก็ยังกล่าวอ้างถึงดังปรากฏในปฐมสมโพธิญาณ ตอนพระสิทธัตถะบำเพ็ญจิตเพื่อบรรลุพระโพธิญาณ แล้วถูกพญามารตามผจญก็อธิษฐานแม่พระธรณีเป็นพยานในบุญบารมีที่ทรงบำเพ็ญมาเอนกชาติจนชนะหมู่มารในที่สุดคุณแม่พระธรณีในทางพระเวทจึงถือเป็นจุดเริ่มต้นและจุดสูงสุดของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกประการ


ว่าเรื่องราวเกี่ยวกับ ‘แม่ธรณี’, ‘แม่พระธรณี’ หรือ ‘พระแม่ธรณี’ ตามแต่จะเรียกขานกันนั้น จะมิใช่คติดั้งเดิมของชาวพุทธอย่างแท้จริงก็ตาม แต่ก็ได้ปรากฏคติความเชื่อเรื่องนี้ในสังคมไทยมาเป็นเวลาช้านาน
      
        แม่ธรณีเป็นใคร? เกี่ยวโยงถึงเรื่องราวในศาสนาได้อย่างไร? และเหตุใดจึงมีอิทธิพลต่อความเชื่อในวัฒนธรรมไทย?

      
        เรื่องนี้ อาจารย์ฤดีรัตน์ กายราศ จากสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ได้ค้นคว้า และเรียบเรียง ไว้เป็นความรู้ที่น่าสนใจและเห็นภาพได้ชัดเจน ดังความส่วนหนึ่งว่า
      
        ปรากฏการณ์ต่างๆ ทางธรรมชาติอันน่ามหัศจรรย์ที่บังเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่มนุษย์แต่โบราณกาลไม่สามารถทราบหรืออธิบายได้ด้วยปัญญาและเหตุผล จึงเข้าใจว่าเกิดจากฤทธิ์และอำนาจของผีสางเทวดาที่จะบันดาลให้ทั้งคุณ และโทษ ประกอบกับธรรมชาติของมนุษย์ต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เพื่อช่วยให้เกิดความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกป้องคุ้มครอง จึงเกิดคติความเชื่อว่า หากมีการบนบานศาลกล่าวเซ่นไหว้บูชาแล้ว ก็จะพ้นจากความทุกข์ยากลำบากเดือดร้อน
      
        ด้วยความเชื่อดังนี้เมื่อปฏิบัติสืบเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านาน ก็ได้เข้าไปครอบงำอยู่ในความนึกคิดและจิตใจของคนในชาติในสังคมอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ กลายเป็นมูลฐานแห่งวัฒนธรรมจารีตประเพณี เกิดเป็นพิธีรีตอง ต่างๆ ที่มนุษย์ในยุคสมัยต่อมาได้ปรับปรุงให้ประณีตงดงามขึ้น เพื่อสัมฤทธิ์ผลแห่งความเป็นสวัสดิมงคลในการดำเนินชีวิต เทวดาในวัฒนธรรมไทยก็เป็นมรดกจากสิ่งแวดล้อม ทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนการทำมาหากินของคนไทยและเป็นที่น่าสังเกตว่าเทวดาที่คอยเอื้อเฟื้อดูแลทุกข์สุขของมวลมนุษย์ มักจะเป็นเทวดา ผู้หญิงเสียเป็นส่วนใหญ่

 

      

        พระธรณี ตามคติความเชื่อของชาวฮินดูให้ความเคารพ นับถือว่าแผ่นดินเป็นสิ่งค้ำจุนสรรพสิ่งทั้งปวงในโลก เปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดหล่อเลี้ยงโลกและแผ่นดิน จึงได้รับยกย่องว่าเป็นเทพจากธรรมชาติองค์หนึ่งเป็นเพศหญิง เรียกนามว่า ‘ธรณิธริตริ’ แปลว่าผู้ค้ำจุนพระธรณี แม้จะมิค่อยมีรูปเคารพอย่างแพร่หลายเช่นเทพองค์อื่น แต่ก็มีผู้ให้ความเคารพนับถือเป็นจำนวนมิใช่น้อย เพราะถือกันว่าพระธรณีสถิตอยู่ตามที่ต่างๆ ทุกหนทุกแห่ง จะทำการบูชาด้วย ข้าว ผลไม้ และนมด้วยการวางไว้บนก้อนหิน หรือประพรมลงบนพื้นดิน บางแห่งใช้เหล้าเป็นการสังเวยก็มี นอกจากนี้ชาวฮินดูยังมีการขอขมาลาโทษเมื่อจะวางเท้าลงบนพื้นดินก่อนจะลุกขึ้นในตอนเช้า วัวหรือควายที่มีลูกก่อนที่จะให้ลูกกินนมครั้งแรก เจ้าของจะปล่อยน้ำนมของ แม่วัวลงบนพื้นดินเสียก่อนทุกครั้งไป ถ้าเป็นพวกชาวนาก็จะขอให้พระธรณีช่วยคุ้มครองผืนนาและวัวควาย แม้ใน พระเวทก็มีการขอร้องต่อพระธรณีให้ช่วยพิทักษ์คุ้มครอง วิญญาณของคนตาย และต่อมาได้นับถือว่าเป็นเทพแห่งไร่ นาด้วย ในแคว้นปัญจาบเชื่อกันว่าพระธรณีจะนอนหลับเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ของทุกๆเดือน ชาวไร่ชาวนาจะหยุดไม่ทำงานในระยะนี้
      
        เทพแห่งแผ่นดินหรือพระธรณี ไม่ค่อยมีเรื่องราวประวัติความเป็นมาปรากฏมากมายดังเช่นเทพองค์อื่น หรือมีก็สับสน เช่น บางแห่งว่าพระธรณีมีโอรสกับพระนารายณ์ องค์หนึ่งคือพระอังคาร บางแห่งว่าพระอังคารเป็นโอรสของ พระศิวะกับพระธรณี หรือในคติพราหมณ์พบเพียงว่าเป็น ชายาของพระธุรวะหรือดาวเหนือ
      
        คติความเชื่อเรื่องพระธรณีได้เผยแพร่มาสู่ไทย ก็เนื่องจากอิทธิพลคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ในพิธีกรรมต่างๆ อาทิ พิธีการก่อนไปจับช้างก็มีการกล่าว บูชาพระธรณีเช่นกัน แต่ความเชื่อถือเกี่ยวกับพระธรณีใน ไทยก็มิได้เป็นที่แพร่หลายนัก และมีความเชื่อเช่นเดียวกับทางอินเดียว่าเป็นเพศหญิง นามพระธรณี มีปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง อาทิ หนังสือเทศน์มหาชาติปฐมสมโพธิกถา ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นต้น มีนามเรียกแตก ต่างกันไปเช่น นางพระธรณี พระแม่วสุนธราพสุธา แปลในความหมายเดียวกันว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งทรัพย์สมบัติ หมายถึงแผ่นดินนั่นเอง สำหรับชาวไทยทั่วไปจะเรียกกันติดปาก ว่า แม่พระธรณีบ้าง พระแม่ธรณีบ้าง ตามความนิยม

 

     

        จากเรื่องราวของพระธรณี แสดงให้เห็นว่าเป็นเทพที่ รักสงบอยู่เงียบๆ จึงไม่ใคร่มีเรื่องราวอะไรในโลก เฝ้าแต่ เลี้ยงโลกประดุจแม่เลี้ยงลูก คอยรับรู้การทำบุญกุศลของ มนุษย์โลก ด้วยการใช้มวยผมรองรับน้ำจากการกรวดน้ำ เสมือนกับเป็นอรูปกะ คือไม่มีตัวตน แต่เมื่อมีเหตุการณ์ สำคัญเกิดขึ้นหรือมีผู้ร้องขอจึงจะปรากฏรูปขึ้นมาสักครั้งหนึ่ง
      
        พระธรณีเป็นเทวดาผู้หญิงที่มีสรีระรูปร่างใหญ่หากแต่อ่อนช้อย งดงาม พระฉวีสีดำ พระพักตร์รูปไข่ มวยพระเกศายาวสลวยสีเขียวชอุ่มเหมือนกลุ่มเมฆ พระเนตรสีเหมือนดอกบัวสายคือสีน้ำเงิน พระชงฆ์เรียว พระพาหาดุจ งวงไอยรา นิ้วพระหัตถ์เรียวเหมือนลำเทียน มีพระทัยเยือก เย็นไม่หวั่นไหว พระพักตร์ยิ้มละไมอยู่เสมอ ภาพเขียนรูปนางพระธรณีที่ถือกันว่างดงามเป็นพิเศษ คือภาพที่ฝาผนังด้านหน้าพระประธานในพระอุโบสถวัดชมภูเวก จังหวัดนนทบุรี ส่วนภาพปั้นหล่อนางพระธรณีในศิลปะไทยที่มีปรากฏอยู่จะทำเป็นรูปหญิงสาว มีรูปร่างอวบใหญ่ ล่ำสันอย่างได้สัดส่วน มีความงามประดุจเทพธิดา นั่งในท่าคุกเข่า แต่ยกเข่าขวาขึ้นสูงกว่าเข่าซ้าย บางแห่งสร้างให้อยู่ในท่ายืน แต่ที่เหมือนกันก็คือมวยผมปล่อยยาว มือขวายกข้ามศีรษะไปจับไว้ที่โคนมวยผม ส่วนมือซ้ายจับมวยผมแสดงท่ากำลังบิดให้สายน้ำไหลออกมาจากมวยผมนั้น ส่วนเครื่อง ทรงไม่มีแบบแผนที่แน่นอนตายตัว ตามแต่จินตนาการของ ผู้สร้าง บางแห่งสวมพัสตราภรณ์เฉพาะช่วงล่าง แต่บางแห่งทั้งนุ่งผ้าจีบและห่มสไบอย่างสวยงาม ประดับเครื่องถนิมพิมพาภรณ์มีกรอบหน้าและจอนหู เป็นต้น...
      
        ส่วนลักษณะตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา จากตำนานเกี่ยวกับเทวดา มาร พรหม และจากพระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เรื่องปฐมสมโพธิกถา ตอนมารวิชัยปริวรรต ได้กล่าวถึงพระแม่ ธรณีที่ปรากฏขึ้นมาในช่วงที่สำคัญที่สุดของพระพุทธเจ้าคือ ก่อนการตรัสรู้ ได้เป็นพยานสำคัญในการปราบมารทั้งหลายทั้งปวง ดังความละเอียดต่อไปนี้
      
        “แต่ในชาติอาตมะเป็นพระยาเวสสันดรชาติเดียวนั้น ก็ได้บำเพ็ญทานบารมีถึงบริจาคนางมัทรีเป็นอวสาน พื้นพสุธาก็กัมปนาการถึง 7 ครั้ง แลกาลบัดนี้ อาตมะนั่งเหนือ อปราชิตบัลลังก์อาสน์ หมู่มารอริราชมาแวดล้อมยุทธการ เป็นไฉนแผ่นพสุธาธารจึงดุษณีภาพอยู่ฉะนี้ แลพระยามาร อ้างบริษัทแห่งตนให้เป็นกฎสักขีขานคำมุสา แลพื้นปฐพีอันปราศจากเจตนาได้สดับคำอาตมะในครั้งนี้จงรับเป็นสักขีพยานแห่งข้า แล้วเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาอันประดับด้วยจักรลักษณะอันงามดุจงวงไอยรารุ่งเรืองด้วยพระนขามีพรรณอันแดงดุจแก้วประพาฬออกจากห้องแห่งจีวร ครุวนาดุจวิชุลดาในอัมพรอันออกจากระหว่างห้องแห่งรัตวลาหก ยกพระดัชนีชี้เฉพาะพื้นมหินทรา จึงออกพระวาจา ประกาศแก่นางพระธรณีว่า ดูก่อนวนิดาดลนารี ตั้งแต่อาตมะบำเพ็ญพระสมภารบารมีมาตราบเท่าถึงอัตภาพเป็นพระเวสสันดรราช ได้เสียสละบุตรทานบริจาคแลสัตตสดกมหาทาน สมณะพราหมณาจารย์ผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งจะกระทำเป็นสักขี-พยานในที่นี้ก็มิได้ มีแต่พสุนธารนารีนี้แลรู้เห็นเป็นพยานอันใหญ่ยิ่ง เป็นไฉนท่านจึงนิ่งมิได้เป็นพยานอาตมาในกาล บัดนี้

      
       
ในขณะนั้น นางพสุนธรีวนิดาก็มิอาจดำรงกายาอยู่ได้ ด้วยโพธิสมภารานุภาพยิ่งใหญ่แห่งพระมหาสัตว์ ก็อุบัติบันดาลเป็นรูปนารี ผุดขึ้นจากพื้นปฐพียืนประดิษฐานเฉพาะพระพุทธังกุรราช เหมือนดุจร้องประกาศกราบทูล พระกรุณาว่า ข้าแต่พระมหาบุรุษราช ข้าพระบาททราบซึ่งสมภารบารมีที่พระองค์สั่งสมอบรมบำเพ็ญมา แต่น้ำทักษิโณทกตกลงชุ่มอยู่ในเกศาข้าพระพุทธเจ้านี้ ก็มากกว่ามากประมาณมิได้ ข้าพระองค์จะบิดกระแสใสสินโธทกให้ตกไหลหลั่งลง จงเห็นประจักษ์แก่นัยนาในครานี้ แลนางพระธรณีก็บิดน้ำในโมลีแห่งตน อันว่ากระแสชลก็หลั่งไหลออกจากเกศโมลีแห่งนางพสุนธรี เป็นท่อธารมหามหรรณพ นองท่วมไปในประเทศที่ทั้งปวงประดุจห้องมหาสาครสมุทร พระผู้เป็นเจ้ารักขิตาจารย์จึงกล่าวสารพระคาถาอรรถาธิบายความก็เหมือนนัยกล่าวแล้วแต่หลัง
      
        ครั้งนั้น หมู่มารเสนาทั้งหลายมิอาจดำรงกายอยู่ได้ ก็ลอยไปตามกระแสน้ำปลาตนาการไปสิ้น ส่วนคิรีเมขลคชินทรที่นั่งทรงองค์พระยาวัสวดีก็มีบาทาอันพลาดมิอาจ ตั้งกายตรงอยู่ได้ ก็ลอยตามชลธารไปตราบเท่าถึงมหาสาคร อันว่าระเบียบแห่งฉัตรธวัชจามรทั้งหลาย ก็ทักทบท่าวทำลาย ล้มลงเกลื่อนกลาดและพระยามาราธิราชได้ทัศนาการเห็นมหัศจรรย์ ดังนั้น ก็บันดาลจิตพิศวงครั่นคร้ามขามพระเดชพระคุณเป็นอันมาก พระคันถรจนาจารย์จึงกล่าวพระคาถาสรรเสริญคุณานุภาพโพธิสัตว์อรรถาธิบายความก็ซ้ำหนหลัง
      
       
ครั้งนั้นมหาปฐพีก็ป่วนปั่นปานประหนึ่งว่าจักรแห่งนายช่างหม้อบันลือศัพท์นฤนาทหวาดไหวสะเทือนสะท้าน เบื้องบนอากาศก็นฤโฆษนาการ เสียงมหาเมฆครืนครั่นปิ่มปานจะทำลายภูผาทั้งหลาย มีสัตตภัณฑ์บรรพต เป็นต้น ก็ วิจลจลาการขานทรัพย์สำเนียงกึกก้องทั่วทั้งท้องจักรวาล ก็บันดาลโกลาหลทั่วสกลดังสะท้าน ปานดุจเสียงป่าไผ่อันไหม้ด้วยเปลวอัคคี ทั้งเทวทุนทุภีกลองสวรรค์ก็บันลือลั่นไปเอง เสียงครืนเครงดุจวีหิลาชอันสาดทิ้ง ถูกกระเบื้องอันเรืองโรจน์ร้อนในกองอัคนี การอัสนีบาตก็ประหารลงเปรี้ยงๆ เพียงพื้นแผ่นปฐพีจะพังภาคดังห่าฝน ถ่านเพลิง ตกต้องพสุธาดลดำเกิงแสงสว่าง หมู่มารทั้งหลายต่างๆตระหนกตกประหม่า กลัวพระเดชานุภาพแพ้พ่าย แตกขจัดขจายหนีไปในทิศานุทิศทั้งปวงมิได้เศษ แลพระยามาราธิราชก็กลัวพระเดชบารมี ปราศจากที่พึ่งที่พำนักซ่อน เร้นให้พ้นภัยหฤทัย ท้อระทดสลดสังเวช จึงออกพระโอษฐ์สรรเสริญพระเดชพระคุณพระมหาบุรุษราชว่า ดังอาตมาจินตนาการอันว่าผลทานศีลสรรพบารมีแห่งพระสิทธัตถกุมารนี้ ปรากฏอาจให้บังเกิดมหิทธฤทธิ์สำเร็จกิจมโนรถปรารถนาทุกประการ มีพระกมลเบิกบานแผ่ไปด้วยประสาทโสมนัส จึงทิ้งเสียซึ่งสรรพาวุธ ประนมหัตถ์ทั้ง 2,000 อัญชลีกรนมัสการ ก็กล่าวสารพระคาถาว่า นโม เต ปุริสาชญญ เป็นอาทิ อรรถาธิบายความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ปุริสาชาไนยชาติเป็นอุดมบุรุษราชในโลกนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายวันทนาการชุลีพร้อมด้วยทวารทั้ง 3 คือกาย วจี มโน ประณามประณตในบทบงกชยุคลบาท บุคคลผู้ใดในมนุษย์ โลกธาตุกับทั้งเทวโลก ที่จะปูนเปรียบประเสริฐเสมอพระองค์คงเทียมเทียบนั้นมิได้มี พระองค์ได้ตรัสเป็นพระศรีสรรเพชญ์เสร็จแจ้งจตุราริยสัจจ์ศาสดาจารย์มีพระเดชครอบงำชำนะหมู่มาร เป็นปิ่นปราชญ์ฉลาดในอนุสัยแห่งสรรพสัตวโลกจะข้ามขนนิกรเวไนย์ให้พ้นจตุรโอฆกันดารบรรลุฝั่งฟากอมฤตมหานฤพานอันเกษมสุขปราศจากสังสารทุกข์ในครั้งนี้ แลพระยาวัสวดีมารโถมนาการพระคุณพระมหาบุรุษราชด้วยจิตประสาทเลื่อมใส ผลกุศลนั้นจะตกแต่งให้ได้ตรัสแก่พระปัจเจกโพธิญาณในอนาคตกาลภายหน้า เมื่อพระยามารกล่าวสัมภาวนากถาสรรเสริญคุณพระโพธิสัตว์ แล้วก็นิวัตตนาการสู่สกลฐานเทวพิภพ”

 


 

      
        จึงสรุปความเชื่อทั้ง 2 ลักษณะ คือ พระแม่ธรณีเป็นอรูปกะคือไม่มีรูปกาย เช่นเดียวกับพระแม่คงคา ซึ่งชาวฮินดูจะทำการสักการะได้ทุกสถานที่ เมื่อต้องการความช่วยเหลือก็อ้างเรียกได้ทุกเวลา ส่วนความเชื่ออีกลักษณะหนึ่งที่ทางศาสนาพุทธได้เชื่อตามพุทธประวัติ ที่พระแม่ธรณีได้มีพระคุณต่อพระพุทธเจ้าก่อนการตรัสรู้ดังได้กล่าว มาแล้วนั้น พระแม่ธรณีมีรูปกายผุดขึ้นมาจากพื้นปฐพี เป็นองค์ที่มีภาพเป็นนิมิตรเป็นรูปสตรีที่ทางพุทธได้กำหนดพระนามของพระแม่ธรณี คือ ‘นางพสุนธรี’ ซึ่งเป็นองค์ตามลักษณะของรูปร่างตามพระแม่ธรณีบีบมวยผม จะประดิษฐานอยู่ใต้แท่นฐานพระพุทธเจ้า ‘ปางปราบมาร’ และเมื่อเกิดมหาปฐพีป่วนปั่น ด้วยอิทธิฤทธิ์ของพระแม่ธรณีบีบมวยผม น้ำมาท่วมท้นหมู่มาร มีทั้งฝนตกและน้ำท่วม และ ‘ปางนาคปรก’ หรือเรียกว่า ‘พระอนันตชินราช’ ซึ่งมีพญานาคได้มาแผ่ปกบังฝนและขดตัวยกชูบัลลังก์ขึ้นสูงจากน้ำที่ท่วมท้นขึ้นมาอย่างฉับพลัน จึงมีรูปภาพที่ตามผนังพระอุโบสถวัดต่างๆ ตรงข้ามกับพระประธาน พระแม่ธรณี จึงเป็นเทพผู้อุปถัมภ์พระพุทธเจ้า การบูชาจึงดูได้จากภาพ พระแม่ธรณีที่ทูนบัลลังก์พระพุทธองค์สูงเหนือเศียร เป็นต้น
      
        การสักการบูชาพระแม่ธรณีเมื่อศึกษาจากบทสวดทางพุทธศาสนา จึงเป็นบทที่เกี่ยวกับการ ‘ให้’ เป็นหลักใหญ่ จน มีผู้เรียบเรียงไว้สำหรับผู้สนใจได้ใช้บูชาคู่กับพุทธคุณ ซึ่งนิยมใช้บทสวด ‘พาหุง พุทธคุณคุ้มครองโลก’
      
       
       (จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 81 ส.ค. 50 โดย มุทิตา)


ลักษณะของพระแม่ธรณี


   ตามที่ปรากฏ โดยมากมักจะเป็นรูปเทวดาผู้หญิง มีรูปร่างอวบใหญ่ ล่ำสันอย่างได้สัดส่วน หรือในบางแห่งจะมีรูปร่างอ้อนแอ้น มีความงามประดุจเทพธิดา นั่งในท่าคุกเข่า แต่ยกเข่าขวาขึ้นสูงกว่าเข่าซ้าย บางแห่งสร้างให้อยู่ในท่ายืน แต่ที่เหมือนกันก็คือมวยผมปล่อยยาว มือขวายกข้ามศีรษะไปจับไว้ที่โคนมวยผม ส่วนมือซ้ายจับมวยผมแสดงท่ากำลังบิดให้สายน้ำไหลออกมาจากมวยผมนั้น ส่วนเครื่องทรงไม่มีแบบแผนที่แน่นอนตายตัว ตามแต่จินตนาการของผู้สร้าง บางแห่งสวมพัตราภรณ์เฉพาะช่วงล่าง แต่บางแห่งทั้งนุ่งผ้าจีบและห่มสไบอย่างสวยงาม ประดับเครื่องถนิมพิมพาภรณ์มีกรอบหน้าและจอนหู เป็นต้น

   พระแม่ธรณีเป็นเทวดาอีกองค์หนึ่งที่ได้รับความนิยมบูชาของคนไทย มักเป็นสัญลักษณ์แห่งแผ่นดิน
  


 


แม่พระธรณี หรือ พระแม่ธรณี

คาถาพระแม่ธรณี ทั้ง2บทนี้ ใช้ได้ตามอธิษฐาน ทำน้ำมนต์แก้คุณเสนียดได้ผลดียิ่ง หากมีศัตรูให้เขียนชื่อนำแม่ธรณีทับไว้ อธิษฐานให้อภัยต่อกัน สวดคาถานี้ทำครบ 7 วัน ฝ่ายตรงข้ามจะแพ้ภัยตัวเองไป แต่อย่าจองเวรเขาเลย จึงจะมีผล เวลามีเหตุให้นึกถึงแม่พระธรณีแล้วภาวนาว่า คาถาพระแม่ธรณี บทนี้

สะ นะ มะ อุ

ไปเรื่อย ๆ จะทรงอานุภาพผ่านพ้นภยันตรายนั้นไปได้เป็นอัศจรรย์

คาถาพระแม่ธรณี คาถาบูชาพระแม่ธรณี มีหลายตำรา
ตั้งนะโม ๓ จบ ว่า พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ แล้วว่า

 อิติปิโสภะคะวา สะวาอะระหัง สุคะโตสวาหะ

3 จบ หลังจากนั้นสวดด้วย

ตัสสาเกษีสะโต ยะถาคงคา
โสตังปะวัตตันติ มาระเสนา
ปฏิฐาตุง อาสักโภนโต
ปะลายิงสุปาริมานานุภาเวนะมาระ
เสนาปะราชิตาทิโส ทิสัง
ปะลายันติ วิทังเสนติอะเสสะโต

อย่างน้อย 3 จบ แต่ถ้าจะให้ดี 21 จบ เพราะกำลังของแม่พระธรณี คือ 21

พระแม่ธรณีอยู่ในพระแม่ ๔ พระองค์ ประกอบด้วย
- พระแม่ธรณี  พระแม่แห่งพื้นแผ่นดิน
- พระแม่คงคา พระแม่แห่งสายน้ำ
- พระแม่โพสพ พระแม่แห่งข้าวปลาอาหาร
- พระแม่นางควัก พระแม่แห่งความมั่งมีศรีสุข

 

 

ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

Annabelle
wonderful issues altogether, you just received a logo new reader. What may you suggest about your put up that you simply made some days in the past? Any certain?
 
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : 80801
Annabelle [111.243.224.xxx] เมื่อ 18/07/2014 18:43
2
อ้างอิง

MissPink
กราบนมัสการณ์พระแม่ธรณีเจ้าค่ะ 

 
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : http://www.fengshuiwin.com
MissPink [171.7.64.xxx] เมื่อ 30/08/2014 22:58
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


บทความ
บทความทั่วไป
รวม LINK โหลดสื่อธรรม
การลดกรรม 45อย่าง ผลของกรรม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า
พุทธประวัติ คือ ประวัติของพระพุทธเจ้า
ประวัติพระพุทธศาสนา
ตำนานพระฤาษีและการบูชาพระฤาษี
พระแม่คายตรีมนตรา เทพีแห่งมนต์ตรา
108 พระนาม พระลักษมี
บูชาองค์อย่างไร
ประวัติพญานาค
พญานาค
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พุทธทำนาย-2
พุทธทำนาย-1
พระมหาโพธิสัตว์กวนอิม 84 ปาง
ตำนาน ประวัติ พระแม่กวนอิมอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์
ตำนานฤาษี 108 ตน ตอน 8
ตำนานฤาษี 108ตน ตอน 7
ตำนานฤาษี 108 ตน ตอน 6
ตำนานฤาษี 108 ตน ตอน 5
ตำนานปู่ฤาษี 108 ตน ตอน 4
ตำนานพระฤาษี 108 ตน ตอน 3
ตำนานปู่ฤาษี 108 ตน ตอนที่ 2
ตำนานพระฤาษี 108 ตน
ปู่ฤาษีนารอด พ่อแก่ บรมครูปู่ฤาษี
ปู่หมอชีวกโกมารภัจจ์
เทวดาประจำตัว,เทวดามาสร้างบารมี,มีองค์
เหตุใดเทวดาตายแล้วจึงอยากเกิดเป็นมนุษย์
กุมารทอง กุมารี
ดูการ์ตูนประวัติพระพุทธศาสนา ออนไลน์
พระราม राम
หนุมาน ผู้เก่งกล้า ว่องไว องค์รักษ์พระราม
นางกวัก เทวีแห่งการค้ารุ่งเรือง
พระแม่โพสพ เทวีแห่งข้าวปลาอาหาร
พระแม่ธรณีหรือแม่พระธรณี भारत माता (Mother Earth)
พระแม่คงคา गङ्गा เทวีแห่งสายน้ำ
พระขันทกุมาร मुरुगन เทพแห่งสงคราม
พระกฤษณะ कृष्ण อวตารของพระนารายณ์
พระแม่อุมาเทวี 9 ปาง,พระแม่ปาราวตี पार्वती 9 ปางนวราตรี
พระนางสุรัสวดี (Saraswati, सरस्वती)
พระแม่กาลีหรือกากิลา काली อวตาลหนึ่งของพระแม่อุมา
พระพรหม (Brahmā ,Sanskrit: ब्रह्मा) คือ พระเจ้าผู้สร้าง
พระแม่ลักษมี (Lakshmi,Sanskrit: लक्ष्मी)
พระตรีศักติ,พระแม่สามภพ,พระศักติ,พระแม่ตรีเอกานุภาพ
พระวิษณุหรือพระนารายณ์
พระมหาตรีมูรติ The Trimurti (English: ‘three forms’; Sanskrit: त्रिमूर्तिः trimūrti)
พระแม่อุมาเทวี(พระแม่ทุรคา,พระแม่กาลี) Parvati (Devanagri: पार्वती, Kālī: काली)
พระพิฆเนศมหาเทพ Ganesha (Sanskrit: गणेश)
พระนามต่างๆของ พระศิวะมหาเทพ
ศิวลึงก์ लिङ्गं สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ
พระศาสดามหาศิวะเทพ (พระอิศวร) शिव Shiva
ศาสนาฮินดู